Top
http://www.mba.nida.ac.th/uploads/project/cover/63c53cb0e79f974776baad3e234f74b1.jpg

การศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ

       หลักสูตร Business Feasibility Study for Non-Business Professionals เป็นหลักสูตรที่เหมาะกับผู้ที่มีความสนใจในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทางธุรกิจ แม้เป็นผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านธุรกิจ การตลาด หรือการเงินมาก่อน โดยหลักสูตรมีความมุ่งหวังที่จะสร้างเสริมความเข้าใจในหลักการการทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทางธุรกิจ เนื่องจากในการดำเนินกิจการใดๆ นั้นควรจะมีแนวคิด ความเข้าใจทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเข้าใจในการตัดสินใจในการลงทุนในโครงการทางธุรกิจ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับบุคคลหลากหลายในหน่วยงานแผนกต่างๆ ขององค์กร ดังนั้นบุคคลไม่ว่าจะอยู่ในหน้าที่ทางธุรกิจโดยตรงหรือหน้าที่ต่างๆในองค์กรจึงควรมีความรู้ความเข้าใจตั้งแต่เบื้องต้นในแนวทางและกระบวนการการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการธุรกิจที่สำหรับองค์กรที่ตนเองนั้นเกี่ยวข้องอยู่เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของหน่วยงานและกิจการขององค์กรมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

          ในปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจค่อนข้างสูง การตัดสินใจในการลงทุนในโครงการทางธุรกิจต่างๆจึงมีความสำคัญและส่งผลต่อการเติบโตตลอดจนการอยู่รอดของธุรกิจ ดังนั้น การตัดสินใจในการลงทุนโครงการทางธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยกรอบแนวคิดการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเพื่อประกอบการตัดสินใจสำหรับการลงทุน ซึ่งแนวคิดหรือทางเลือกลงทุนต่างๆ นั้น อาจจะมี “ความเป็นไปได้/ความเหมาะสม” หรือ “เป็นไปไม่ได้/ไม่เหมาะสม” ที่จะลงทุนทำได้ กล่าวคือ เป็นการลงทุนในธุรกิจที่ก่อให้เกิดความคุ้มค่าหรือเกิดผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อความเสี่ยงของการลงทุนในโครงการธุรกิจนั้น โดยการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการจะเกี่ยวข้องกับการเริ่มจัดตั้งธุรกิจขึ้นใหม่ (Starting a New Business) อันได้แก่ การสำรวจตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์ การวางแผนการผลิต การวางแผนกำลังคน และการวิเคราะห์และประเมินความคุ้มค่าของธุรกิจใหม่นั้น นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายโครงการที่ต้องการการศึกษาความเหมาะสมหรือความเป็นไปได้ด้วยเช่นกัน อาทิเช่น การขยายงานทางธุรกิจ (Expansion of an Existing Business) การเปลี่ยนเครื่องจักรหรือโรงงานใหม่ทดแทน (Replacement of an existing machine/plants) การเพิ่มสายผลิตภัณฑ์ การเข้าซื้อธุรกิจหรือกิจการที่มีอยู่ (Purchasing an existing business)เป็นต้น โดยโครงการที่มีความเหมาะสมหรือเป็นไปได้จะถูกนำไปพัฒนาเป็นแผนธุรกิจ (Business Plans) ต่อไป

 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Line@ : @cbinida (มี @) หรือ Fanpage NIDA CBI

แนะนำโครงการ

     หลักสูตร “Business Feasibility Study for Non-Business Professionals” จึงมุ่งเน้นให้หลักความรู้ในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทางธุรกิจ แม้ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านธุรกิจมาก่อน โดยหลักสูตรมุ่งให้ความรู้ หลักคิดและแนวทางการวิเคราะห์การศึกษาความเป็นไปได้ (Project Feasibility Study)  การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร การวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน และการประเมินความคุ้มค่าทางการเงินของการลงทุนโครงการ (Project Evaluation) รวมทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง

" type="video/mp4"> Your browser does not support the video tag.

 

 

 

วัน/เดือน/ปี

เวลา

หัวข้ออบรม

พฤหัสบดี

23 พ.ค 2567

9.00 – 12.00

1. บทนำ

   1.1 บริบทของ “การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการธุรกิจ”

   1.2 องค์ประกอบของ “การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการธุรกิจ”

   1.3 บทสรุปและกรณีเพื่อการศึกษา

 

13.00 – 16.00

2. องค์ประกอบ: การศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาด

   2.1 โอกาสสำหรับตลาด และ โอกาสสำหรับตลาดของโครงการ

   2.2 การประมาณการยอดขายของโครงการ

   2.3 บทสรุปองค์ประกอบ: การศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาดและ

   2.4 กรณีเพื่อการศึกษา

ศุกร์

24 พ.ค. 2567

9.00 – 12.00

3. องค์ประกอบ: การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและการปฏิบัติการ

   3.1 การพิจารณาขั้นตอนการดำเนินการของโครงการทางธุรกิจ

   3.2 การประเมินข้อจำกัดทางเทคนิคและการปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง

   3.3 บทสรุปองค์ประกอบ: การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและการปฏิบัติการ    

   3.4 กรณีเพื่อการศึกษา

 

13.00 – 16.00

4. องค์ประกอบ: การศึกษาความเป็นไปได้ทางโครงสร้างองค์การ

   4.1 การพิจารณาโครงสร้างองค์การ

   4.2 การประเมินข้อจำกัดทางโครงสร้างองค์การ

   4.3 บทสรุปองค์ประกอบ: การศึกษาความเป็นไปได้ทางโครงสร้างองค์การ

   4.4 กรณีเพื่อการศึกษา

 เสาร์

25 พ.ค. 2567

9.00 – 12.00

5. องค์ประกอบ: การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน

   5.1 แนวคิดในการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน – แนวคิดเรื่องกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทางการเงินของโครงการ รวมทั้งแนวคิดเรื่องต้นทุนจม (Sunk cost) และต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity cost)

   5.2 ที่มาของเงินทุน และต้นทุนของเงินทุน (Cost of capital)

   5.3 การประเมินรายได้และค่าใช้จ่าย

 

13.00 – 16.00

6. การประมาณการทางการเงินของโครงการ

   6.1 การประมาณการงบกำไรขาดทุน (Income statement) ของโครงการ

   6.2 การวิเคราะห์ย่อส่วนตามแนวดิ่งของงบกำไรขาดทุน (Common-size income statement) ของโครงการ

   6.3 การประมาณการงบแสดงฐานะทางการเงิน (Balance sheet) ของโครงการ

   6.4 การประมาณการงบกระแสเงินสด (Cash flow statement) ของโครงการ

อาทิตย์

26 พ.ค. 2567

9.00 – 12.00

7. การประเมินความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการ

   7.1 การประเมินจุดคุ้มทุน

   7.2 ระยะเวลาคืนทุน (Payback period)

   7.3 มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net present value)

   7.4 อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal rate of return/IRR)

8. การวิเคราะห์ความไวและการวิเคราะห์สถานการณ์ (Sensitivity and Scenario Analyses) และการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

   8.1 การวิเคราะห์ความไวและการวิเคราะห์สถานการณ์

   8.2 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

 

13.00 – 16.00

9. สรุปการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

  • เจ้าของกิจการ
  • ผู้จัดการธุรกิจ
  • ผู้สนใจทั่วไป ที่ต้องการพัฒนาความรู้ทางด้านการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทางธุรกิจ
  • มีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
  • รุ่นที่ 3 : รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 13 พฤษภาคม 2567
  • อบรมทุกวัน ตั้งแต่วันที่ อบรมวันที่ 23 - 26 พฤษภาคม 2567
  •  เวลา 09.00-16.00 น. (จำนวน 4 วัน 24 ชั่วโมง)
  • สถานที่อบรม : ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กทม. 10240
  • รับสมัครจำนวน : ไม่เกิน 35 คน
  • 15,500 .- บาท / คน
  • อบรม ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กทม. 10240
  • พิเศษ เหลือคนละ 14,900 บาท

    • กรณี สมัครและชำระเงินภายในวันที่ 30 เมษายน 2567 

    • กรณี เป็นศิษย์เก่านิด้า /หรือศิษย์ปัจจุบันนิด้า /หรือเคยอบรมกับศูนย์นวัตกรรมทางธุรกิจ /หรือสมัครพร้อมกัน 3 คน

ผู้เข้าอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองจาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อมีเวลาเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของระยะเวลาการอบรมทั้งหมด

รายละเอียด/ใบสมัคร

ดูทั้งหมด

เอกสารเผยแพร่

ดูทั้งหมด

ภาพกิจกรรม

ดูทั้งหมด