มุ่งผลิตนักบริหารมืออาชีพ จุดเด่นที่ทำให้หลักสูตร MBA เป็นที่นิยมและสนใจ
จากผู้ศึกษา นอกเหนือจากการให้ผู้ศึกษาได้ "เปิดรับ" องค์ความรู้ที่มีนัยปฏิบัติ (Highly Practical Knowledge) ตัวหลักสูตร MBA ยังมีลักษณะเด่นตรงที่
"เปิดกว้าง" ให้บัณฑิตจากทุกสาขาอาชีพ ได้เข้ามาเพิ่มพูนการบริหารการเงิน
การบริหารความรู้ด้านการตลาด การบริหารการปฏิบัติการธุรกิจระหว่างประเทศ
และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
แนะนำโครงการโดย
นักศึกษาปัจจุบัน
Regular MBA ภาคปกติ (หลักสูตรภาษาไทย)
แนะนำการเมืองการปกครองไทย เศรษฐกิจ ธุรกิจไทย สังคมไทย จริยธรรมของนักบริหารจริยธรรมทางวิชาการ พัฒนาบุคลิกภาพ สุขภาพกาย สุขภาพจิต รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การเขียนรายงานทางวิชาการและเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา
สร้างเสริมความรู้พื้นฐานด้านไวยากรณ์ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาทักษะการอ่าน เช่น การศึกษา ประเภทของประโยค การหาแกนหลักและส่วนขยายของประโยค เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้และ พัฒนาทักษะการอ่านงานเขียนทางวิชาการ เช่น ตำรา บทความวิชาการ โดยเน้นการพัฒนา ทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ เพื่อหาข้อสรุป การตีความประโยค การเดาความหมายของ คำศัพท์จากบริบท การอ่านแบบข้ามเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ การหาความสัมพันธ์ของประโยคและ ย่อหน้าในงานเขียนและการอ่านเชิงวิเคราะห์
เนื้อหาและกิจกรรมเน้นการบูรณาการทักษะทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเชิงวิชาการเบื้องต้น
บูรณาการความรู้ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ ซึ่งรวมทั้งการอ่าน การฟัง การพูด และการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาทักษะและความสามารถในการสรุปวิเคราะห์และอภิปรายบทความหรือข้อความทางวิชาการในสาขาต่างๆ ของการบริหารธุรกิจ
ศึกษาในเชิงวิเคราะห์การจัดการธุรกิจ โดยประยุกต์ทฤษฎี หลักการและการปฏิบัติการจัดการ Execution) จากบริษัทชั้นนำใน FORTUNE 500 ที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติในบริบทของสังคมธุรกิจไทย และพร้อมก้าวสู่ธุรกิจในระดับโลก ให้ความสำคัญกับ เรื่องผู้นำ (leader) นวัตกรรม (Innovation) การจัดการการเปลี่ยนแปลง (Leading Change) ที่ใช้แนวคิดการจัดการทั้งเก่าและใหม่ ในเชิงบูรณาการสู่ความร่วมสมัย
แนวคิดสำคัญในการจัดทำงบการเงิน การรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป การวิเคราะห์งบการเงินขององค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ
ศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค และมหภาค โดยให้สามารถนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคมา ช่วยในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อนำมาประกอบใช้กับทฤษฎี เศรษศาสตร์จุลภาคในการตัดสินใจ และการวางแผนธุรกิจรวมทั้งศึกษาวิเคราะห์กรณีตัวอย่าง จากกรณีศึกษาต่างๆทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ
วิธีการสถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ แนวความคิด และการใช้แบบจำลองทางสถิติและคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ หัวข้อที่ศึกษารวมถึงการจัดข้อมูลเชิงปริมาณ การแจกแจงความถี่ ความน่าจะเป็น การกระจายของการสุ่มตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่น การทดสอบสมมติฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตัวแบบถดถอยแบบพื้นฐานและแบบหลายตัวแปร การวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลา ตัวแบบเชิงเส้น การจำลองสถานการณ์ การวิเคราะห์การตัดสินใจ และหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วิชานี้ศึกษาพื้นฐานและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ให้ในการวางแผนกลยุทธ์และการพบริหารการพัฒนา ระบบสารสนเทศและการนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มผลิตผลและประสิทธิภาพของ องค์การ
ในบรรดาทรัพยากรที่องค์กรมีอยู่ ทรัพยากรมนุษย์ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยนำความสำเร็จที่ยากในการได้มาและเก็บรักษาให้คงอยู่ ประกอบกับการที่องค์กรต่างต้องเผชิญกระแสการเปลี่ยนแปลงและภาวะการณ์ที่ท้าทายที่นับวันจะเพิ่มมากยิ่งขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทวีความสำคัญมากขึ้นเท่านั้นสาระหลักของวิชาจึงเน้นการเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีฐานความคิดในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับหลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ในองค์กรที่ได้รับการยอมรับให้เป็นศาสตร์สากลที่บูรณาการองค์ความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ และการจัดการเชิงธุรกิจ และ นอกจากความรู้ที่แน่นหนักในหลักการแล้ว ผู้เรียนยังจะได้รับรู้ประสบการณ์แนวปฏิบัติจริงที่คัด สรรมาจากองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและสามารถยกระดับสู่การเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพชีวิต และความพึงพอใจในการทำงานควบคู่ไปกับการมีความสามารถในการสร้างผลิตภาพและผลกำไรให้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน
ปรัชญา และแนวความคิดทางด้านการตลาด การวางแผนการตลาด การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อการเติบโตของธุรกิจ การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด ประเมินความน่าสนใจของตลาด การกำหนดโปรแกรมการตลาด และการควบคุมการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ การคำนวณต้นทุนของสินค้าและบริการ บทบาทของต้นทุนต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์ต้นทุน ความสัมพันธ์ของต้นทุนปริมาณและกำไร การวางแผนและควบคุม ระบบงบประมาณ การวัดผลและการประเมินผลการดำเนินงาน การบัญชีตามความรับผิดชอบ การบริหารโดยใช้หลักดุลยภาพ การใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
การพัฒนากรอบแนวความคิดในการวิเคราะห์และการบริหารการเงิน การบริหารเงินทุน และทรัพย์สินระยะยาวของบริษัท การจัดหาเงินทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โครงสร้างเงินทุน รวมถึงนโยบายการปันผลและต้นทุนของเงินทุน
หลักการพื้นฐาน แนวคิด เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบ วิเคราะห์ และการปรับปรุงขีดความสามารถในการปฏิบัติการขององค์กรที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรมและธุรกิจ การวิเคราะห์และการปรับปรุงกระบวนการทางด้าน การปฏิบัติการขององค์กรเพื่อเพิ่มผลิตภาพ คุณภาพ และคุณค่าให้กับลูกค้า
รายวิชาบังคับกำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องเรียน
วิชารวบยอดของสาขาบริหารธุรกิจ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริง เน้นกระบวนการจัดการกลยุทธ์ โดยเริ่มจากการวางกลยุทธ์ในระดับองค์การ ในระดับธุรกิจ และระดับฝ่าย การนำไปประยุกต์ได้แก่ การออกแบบองค์การ ระบบการควบคุม และการบริหารทรัพยากรต่าง ๆ บุพวิชา : บธ 6100 บธ 6200 บธ 6300 บธ 6400 และ บธ 6500
รายวิชาในสาขาวิชาเอก/เลือก ดังนี้
รายวิชาบังคับ
สาขาการตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค เน้นการใช้วิชาพฤติกรรมศาสตร์แขนงต่างๆได้แก่ มานุษยวิทยา จิตวิทยาสังคม และสังคมวิทยาเพื่ออธิบายกระบวนการตัดสินใจและปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค
แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย รวมถึงการกำหนดปัญหา คำถามในการวิจัย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการนำเสนอผลการวิจัยเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา และตัดสินใจทางการตลาดให้ได้สัมฤทธิ์ผล
สาขาการบริหารการปฏิบัติการ
แนวคิดและความหมายของปรัชญาในการจัดการคุณภาพแบบต่าง ๆ เครื่องมือและเทคนิคการ ควบคุมคุณภาพ การปรับปรุงคุณภาพ การรับประกันคุณภาพ การบูรณาการการจัดการ คุณภาพในองค์การ
แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานของการตั้งราคา, ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการตั้งราคา, เทคนิคและกลวิธีการเพิ่มรายได้สูงสุดเมื่อมีข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ ทางธุรกิจ, การบริหารรายได้, การออกแบบและประเมินผลการให้ส่วนลด, รวมถึงนวัตกรรมการตั้งราคาแบบใหม่ โดยวิชานี้จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างกลยุทธ์การตั้งราคาร่วมกับกลยุทธ์การปฏิบัติการที่เหมาะสมที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้กับธุรกิจหลากหลายรูปแบบ เช่น การขายปลีกการผลิตสินค้า การขนส่ง การโรงแรม และการบริการทางการเงิน เป็นต้น
สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
ศึกษาเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจในการบริหาร โดยมุ่งเน้นไปที่การตลาดอัจฉริยะซึ่งหมายถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจเพื่อการตัดสินใจที่ ถูกต้องในการสร้างโอกาสทางการตลาดที่สัมพันธ์กับองค์กร และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลในยุค ดิจิตอลทั้งจากโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ วิชานี้ยังครอบคลุมเทคนิคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ (Decision Support Systems) การสร้างแบบจำลอง ระบบงานไม่ต่อเนื่อง (Discrete Event Simulation Modeling) การวัดประสิทธิภาพทางธุรกิจ (Business Performance Management) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) และการ ประยุกต์ใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะในระบบสารสนเทศประเภทอื่น ๆ
ศึกษาการบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจ โดยเนื้อหาครอบคลุมถึงเครื่องมือ เทคนิคและทฤษฎีในการบริหารโครงการทั้งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตาม Curriculum ของ PMI (Project Management Institute)นอกจากนี้ยังรวมถึงการเรียนรู้ ซอฟแวร์ที่ใช้ในกากรบริหารโครงการคือ Microsoft Project และเครื่องมือการบริหาร โครงการเช่น PERT, Gant Chart, CPM, Project Charter, Work Breakdown Structure (WBS), Critical Path, Earned Value, และ Requirement Analysis, เป็นต้น เนื้อหาวิชานี้ ครอบคลุมโครงการเกี่ยวกับเทคโนโลยี รวมถึงโครงการอื่นๆ เองก็ตาม ก็ต้องมีการจัดทำ โครงการการวางแผน การวิเคราะห์ การออกแบบระบบ การควบคุมติดตาม การบริหาร โครงการเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยในทุกขั้นตอนของการพัฒนาระบบหรือโครงการใดๆ ผู้บริหาร จำเป็นต้องทราบถึงรายละเอียดตั้งแต่ 1)Initiating 2)Planning 3)Executing 4)Monitoring & Controlling และ 5) Closing ทั้งห้ากระบวนการมีความเกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบหรือ โครงการในทุกๆด้านขององค์กร นอกจากนี้วิชานี้เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการเตรียมตัวสอบ ประกาศนียบัตร PMP (Project Management Professional) ในวิชานี้จะมีการใช้ Microsoft Project ประกอบการเรียน
กรอบการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ชนิดผลตอบแทนคงที่อย่างเหมาะสม กรอบในการประเมินมูลค่าจะนำมาใช้ในเรื่องของโครงสร้างดอกเบี้ย และมูลค่าของสินทรัพย์แบบมีผลตอบแทนคงที่ในโครงสร้างที่ซับซ้อน และมีตราสารอนุพันธ์แฝงอยู่ รวมถึงพันธบัตรชนิดที่สามารถเรียกซื้อคืนก่อนถึงกำหนด และชนิดที่มีสิทธิในการขายตามเวลา และราคาที่ได้ตกลงไว้, หลักทรัพย์ที่ใช้อสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน , หลักทรัพย์ที่ใช้สินทรัพย์ค้ำประกัน และพันธบัตรแปลงสภาพการประเมินมูลค่าของตราสารอนุพันธ์ที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย
สาขาการเงิน
ความรู้ในเชิงวิเคราะห์ทั้งในด้านทฤษฎี และด้านกลไกการทำงานของตราสารอนุพันธ์ โดยใช้ตัวอย่างทั้งเชิงคณิตศาสตร์ และเชิงตัวเลขเพื่อพัฒนาความเข้าใจในเรื่องราวของตราสารอนุพันธ์ ทางการเงินให้มากยิ่งขึ้น หลักการพื้นฐานของตราสารอนุพันธ์ทางการเงินประเภทต่าง ๆ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ (futures) และฟอร์เวิร์ด (forward), สัญญาสวอป (swaps), และสิทธิในการซื้อ หรือขายหุ้นสามัญ (options) แนวคิดในเรื่องกลยุทธ์การซื้อขาย และการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้ตราสารอนุพันธ์
ชนิดของหลักทรัพย์การเงิน แหล่งและชนิดของข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์วิธีการและ หลักการต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจลงทุน หลักการและการปฏิบัติขั้นพื้นฐานในการจัดการลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งการจัดการการลงทุนของบุคคล และการจัดการการ ลงทุนของสถาบัน
การศึกษาในหัวข้อพิเศษและทันสมัยทางธุรกิจ ซึ่งคณะจะกำหนดให้เรียนตามความเหมาะสม โดยหัวข้อเรื่องจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนเปิดภาคการศึกษา บุพวิชา: ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของผู้สอน
สาขากลยุทธ์
วิชาการค้นคว้าอิสระ การวิเคราะห์เพื่อทราบอาการ และสาเหตุของปัญหาทางธุรกิจ เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ การตรวจสอบทางธุรกิจ บุพวิชา : บธ 6100 บธ 6200 บธ 6300 บธ 6400 และ บธ 6500 สำหรับนักศึกษาในหลักสูตรแผน ข
ระยะเวลาในการรับสมัครสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดการเปิดรับสมัครสอบได้ทาง https://entrance.nida.ac.th/registrar/apphome.asp คลิก
ช่องทางการสมัครสอบ
รายการ
|
Regular MBA ภาคปกติ
|
||
ครั้งที่ 2/2568
|
รอบพิเศษ (สำหรับผู้สมัครที่สอบข้อเขียนผ่านแล้ว)
|
ครั้งที่ 3/2568
|
|
1.รับสมัครสอบข้อเขียน |
ถึง 4 เม.ย. 2568
|
-
|
บัดนี้ - 20 มิ.ย. 2568
|
2.ประกาศสถานที่สอบข้อเขียน |
11 เม.ย. 2568
|
-
|
30 มิ.ย. 2568
|
3.วันสอบข้อเขียน |
19 เม.ย. 2568
|
-
|
5 ก.ค. 2568
|
4.ประกาศผลสอบข้อเขียน |
30 เม.ย. 2568
|
-
|
14 ก.ค. 2568
|
5.รับสมัครสอบสัมภาษณ์ (กรณีสอบผ่านข้อเขียนเท่านั้น) |
2 - 8 พ.ค. 2568
|
บัดนี้ - 18 มิ.ย. 2568
|
14 - 18 ก.ค. 2568
|
6.ประกาศชื่อและสถานที่สอบสัมภาษณ์ |
16 พ.ค. 2568
|
23 มิ.ย. 2568
|
25 ก.ค. 2568
|
7.สอบสัมภาษณ์ |
ระหว่างวันที่ 19 - 25 พ.ค. 2568
|
ระหว่างวันที่ 25 - 30 มิ.ย. 2568
|
ระหว่างวันที่ 29 ก.ค. - 3 ส.ค. 2568
|
8.ประกาศผลคัดเลือก |
16 มิ.ย. 2568
|
18 ก.ค. 2568
|
18 ส.ค. 2568
|
9.รับเอกสารขึ้นทะเบียน/ลงทะเบียน |
24 - 27 มิ.ย. 2568
|
26 - 31 ก.ค. 2568
|
26 - 29 ส.ค. 2568
|
10.ชำระเงินขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา |
24 - 30 มิ.ย. 2568
|
26 ก.ค. - 1 ส.ค. 2568
|
26 ส.ค. - 1 ก.ย. 2568
|
11.ปฐมนิเทศ |
3 ก.ค. 2568
|
ประกาศภายหลัง
|
11 ธ.ค. 2568
|
12.เรียนวิชาปรับพื้นฐาน ND4000 |
7 - 22 ก.ค. 2568
|
เรียนพร้อมรุ่นถัดไป
|
15 - 26 ธ.ค. 2568
|
13.วันเปิดภาคเรียน |
13 ส.ค. 2568
|
12 ม.ค. 2569
|
|
ประกาศรับสมัคร >> | ดูประกาศรับสมัคร คลิก |
ดูประกาศรับสมัคร คลิก |